วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

         วิชาจริยศาสตร์แบ่งสาขาได้ดังต่อไปนี้
1. ประวัติศาสตร์จริยะ (History of Ethics) กล่าวถึงความเป็นมาถึงความรู้เกี่ยวกับความประพฤติ จึงกินความรวมถึงประวิติศาสตร์ความประพฤติ ประวัติศาสตร์อุดมการณ์
2. จิตวิทยาจริยะ (Psychology of Ethics) กล่าวถึงสาเหตุจิตวิทยาของมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติ
3. สังคมวิทยาจริยะ (Sociology of Ethics) กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของสังคมที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติ
4. ปรัชญาจริยะ (Ethical Philosophy) ถ้ามองจากมุนปรัชญาจะนิยามได้ว่า เป็นปรัชญาประยุกต์แขนงหนึ่งที่นำเอาปรัชญาบริสุทธิ์ได้ตีความผลสรุปของวิชาจริยศาสตร์สาขาอื่นๆ ถ้ามองจากมุมจริยศาสตร์ จะนิยามได้ว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์
5. เทววิทยาจริยะ (Ethical Theology) ซึ่งมักจะเรียกว่าเทววิทยาศีลธรรม เป็นประมวลความรู้เกี่ยวกับความประพฤติที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ของศาสนาที่นับถือพระเจ้าสำหรับศาสนาที่ไม่นับถือพระเจ้า อย่างเช่น พระพุทธศาสนา ยังไม่มีศัพท์กลางๆ ไว้เรียก จึงนิยมเรียกโดยเฉพาะของศาสนาแต่ละศาสนา เช่น พุทธจริยศาสตร์หรือพุทธศีลธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นประมวลความรู้เกี่ยวกับความประพฤติที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
         จริยศาสตร์ หมายความว่า กล่าวถึงแนวทางอันพึงประพฤติ หมายถึงพฤติกรรมที่มีมโนธรรมเข้าแทรก เมื่อมีมโนธรรมเกิดขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการตัดสินใจอย่างเสรี หากการตัดสินใจเลือกทำตามมโนธรรมเกิดขึ้น  ก็ย่อมมีการตัดสินใจอย่างเสรี ตามมาหากการตัดสินใจเลือกทำตามมโนธรรมก็เรียกว่ามีความประพฤติดี หากตัดสินใจเลือกปฏิบัติฝื่นมโนธรรมก็เรียกว่ามีความประพฤติเลว
         พฤติกรรม ได้แก่ การกระทำทุกอย่างของมนุษย์และสัตว์ บางคนถือว่าพืชก็มีความประพฤติได้ด้วย
ถ้ามีมโนธรรมเข้าแทรกเรียกว่าความประพฤติ ถ้าไม่มีมโนธรรมเข้าแทรกเรียกว่าประพฤติกรรมอศีลธรรม อย่าปนกับความประพฤติผิดศีลธรรมหรือทุศีล ซึ่งเป็นความประพฤติที่ฝ่าฝืนมโนธรรม
         มโนธรรม คือ ความสำนึกดีชั่ว ชั่วน้อยเรียกว่าเลว อาจจะสำนึกในขณะที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีทางประพฤติเฉพาะหน้า หรืออาจจะสำนึกในอดีตแต่ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกวิธีทางประพฤติเฉพาะหน้าก็ได้ เช่น นาย ก เห็นเด็กตกน้ำ นาย ก สำนึกได้ว่าการยอมเปียกและผิดนัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กเป็นความประพฤติดี นาย ก จึงกระโดดลงไปช่วยเด็กคนนั้นให้พ้นจากการจมน้ำตาย ถือได้ว่านาย ก ประพฤติดี แต่ถ้านาย ก เคยสละธุระส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความเดือดร้อนเป็นอาจิณ นาย ก อาจกระโดดลงไปช่วยเด็กตกน้ำคนนั้นทันทีที่เห็นโดยไม่มีการตัดสินใจเฉพาะหน้าแต่ประการใดเลย จะเรียกว่าทำโดยอัตโนมัติก็ได้ เช่นนี้ถือว่านาย ก มีความประพฤติดีเหมือนกัน
         หากจะถามว่ามโนธรรมสำนึกอะไรบ้าง ก็จะวิเคราะห์ออกได้เป็น 2 องค์ประกอบ คือ เป้าหมายเฉพาะกิจกับวิถี เพื่อบรรลุเป้าหมายเฉพาะกิจ เป้าหมายเฉพาะกิจระดับหนึ่งจะเป็นวิธีสู่เป้าหมายเฉพาะกิจที่สูงขึ้นไป จนกว่าจะถึงเป้าหมายสูงสุดของแต่ละบุคคล
        ดังนั้น ประชาชนจึงพากันรวมตัว เข้าแย่งอำนาจจากกลุ่มทุนปัจจุบันคือกลุ่มทุนทักษิณ เป้าหมายคือโค่นล้มระบอบทักษิณ ขับไล่รัฐบาลนอมินี สถาปนาอำนาจอธิปไตยขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะต้องเป็นอำนาจแท้ ๆของประชาชน
        ด้วยเหตูนี้ เราจึงกำหนดเป็นหลักการ(ทฤษฎี)เบื้องต้นว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้ ประชาชนต้องเป็นเจ้าภาพ เป็นผู้กำหนด  เป็นผู้กำกับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะต้องนำประชาชนยึดอำนาจจากกลุ่มทุนใช้เป็นเครื่องมือ  และสร้างการเมืองใหม่ขึ้นมาแทนที่
       ภายหลังการยุติบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  ขบวนการการเมืองภาคประชาชนได้พัฒนาเติบโตในรูปแบบต่างๆ อย่างรวดเร็ว และเมื่อเกิดรัฐประหารยึดอำนาจโดยคณะ “รสช.” จึงได้เกิดการต่อต้านอย่างกว้างขวาง กลางเป็น “พฤษภาทมิฬ” และนำไปสู่การถือกำหนดขึ้นของรัฐบาลตัวแทนกลุ่มทุน โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

        นับตั้งแต่นั้นมาประเทศไทยได้เข้าสู่ยุค”ประชาธิปไตยเต็มใบ” พรรคการเมืองตัวแทนกลุ่มทุนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ได้ผลัดเปลียนหมุนเวียนกันเข้าใช้อำนาจบริหารประเทศ
         ในปัจจุบัน ในทางสากล ประเทศส่วนใหญ่มีการเมืองที่กลุ่มทุนเป็นผู้ใช้อำนาจ เรียกว่าระบอบประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน บางประเทศทำได้ดี บางประเทศทำได้เลว ขึ้นอยู่กับว่าคำนึงถึงประชาชนมากน้อยแค่ไหน
         ในบางประเทศซึ่งเป็นส่วนน้อยประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจในนามพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ เรียกว่าระบอบประชาธิปไตยของประชาชน แต่ทำได้ไม่ดีนัก เพราะพรรคผูกขาดอำนาจเหนือประชาชนกลายเป็นพรรคอภิสิทธิ์มีอำนาจล้นฟ้า ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ในที่สุดก็ล่มสลายไปเกือบหมดหันไปหากลุ่มทุน ใช้อำนาจบริหารประเทศ โดยคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลการเอาใจใส่เช่นที่เป็นอยู่ในประเทศทุนนิยม ปัจจุบันเหลือเพียง 5 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม ลาว คิวบา เกาหลีเหนือ ซึ่งจะอยู่จะไปก็ขึ้นกับว่า สามารถใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนมากน้อยแค่ไหน
        การเมืองไทย  อำนาจอยู่ในมือคนกลุ่มน้อยใช้อำนาจเพื่อคนกลุ่มน้อยมาตลอดประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์  ตรงกันข้ามกับเสียประโยชน์จากการทุจริตโกงกินของนักการเมืองกลุ่มทุนทำให้ประชาชนไม่พอใจและสิ้นหวังต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ก็มองไม่เห็นหนทางที่กลุ่มทุนจะทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนเพราะกลุ่มทุนในประเทศกำลังสมคบกับกลุ่มทุนต่างประเทศแบ่งปันประเทศไทยโดยไม่คำนึงถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวไทย

         ทฤษฎีกับการเมืองใหม่
ทฤษฎีคือ สิ่งที่รู้จากการได้สัมผัส ได้มีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติ รู้ลึกถึงแก่นระดับสัจธรรม เป็นหลักเป็นเกณฑ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ สามารถถ่ายทอดให้คนเราปฏิบัติตามได้ต่อไปอย่างถูกต้อง เกิดผลดีต่อการดำเนินชีวิต เช่น
         ในทางธรรมชาติ จากการมีชีวิตอยู่ในธรรมชาติ ทำให้รู้กฎการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ รู้การหมุนเวียนเปลี่ยนไปของฤดูกาล นำไปสู่การปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ ดำเนินชีวิตตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ
         ในทางวิทยาศาสตร์ รู้ถึงที่มาของพลังงานอะตอม  นำไปสู่การใช้ประโยชน์จากพลังงานอะตอม เกิดเทคโนโลยีนิวเคลียร์
       ในทางสังคม รู้ทิศทางการพัฒนาสังคม รู้ต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงสังคมและชีวิต  นำไปสู่การพัฒนาสังคมและชีวิต
          ในทางการเมือง รู้ว่าเป็นเรื่องของอำนาจ  มีการใช้อำนาจของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อคนกลุ่มหนึ่งเช่นกลุ่มหนึ่งเช่นกลุ่มทุน หรือเพื่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือประชาชน นำไปสู่การแย่งชิงอำนาจเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่นระหว่างกลุ่มทุนด้วยกันเอง หรือระหว่างกลุ่มทุนกับประชาชน
          ในปัจจุบัน ในทางสากล ประเทศส่วนใหญ่มีการเมืองที่กลุ่มทุนเป็นผู้ใช้อำนาจเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน บางประเทศทำได้ดี  บางประเทศทำได้เลว ขึ้นอยู่กับว่าได้คำนึงถึงประชาชน