จริยศาสตร์ หมายความว่า
กล่าวถึงแนวทางอันพึงประพฤติ หมายถึงพฤติกรรมที่มีมโนธรรมเข้าแทรก
เมื่อมีมโนธรรมเกิดขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการตัดสินใจอย่างเสรี
หากการตัดสินใจเลือกทำตามมโนธรรมเกิดขึ้น
ก็ย่อมมีการตัดสินใจอย่างเสรี
ตามมาหากการตัดสินใจเลือกทำตามมโนธรรมก็เรียกว่ามีความประพฤติดี
หากตัดสินใจเลือกปฏิบัติฝื่นมโนธรรมก็เรียกว่ามีความประพฤติเลว
พฤติกรรม ได้แก่
การกระทำทุกอย่างของมนุษย์และสัตว์ บางคนถือว่าพืชก็มีความประพฤติได้ด้วย
ถ้ามีมโนธรรมเข้าแทรกเรียกว่าความประพฤติ
ถ้าไม่มีมโนธรรมเข้าแทรกเรียกว่าประพฤติกรรมอศีลธรรม อย่าปนกับความประพฤติผิดศีลธรรมหรือทุศีล
ซึ่งเป็นความประพฤติที่ฝ่าฝืนมโนธรรม
มโนธรรม คือ ความสำนึกดีชั่ว
ชั่วน้อยเรียกว่าเลว
อาจจะสำนึกในขณะที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีทางประพฤติเฉพาะหน้า
หรืออาจจะสำนึกในอดีตแต่ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกวิธีทางประพฤติเฉพาะหน้าก็ได้
เช่น นาย ก เห็นเด็กตกน้ำ นาย ก
สำนึกได้ว่าการยอมเปียกและผิดนัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กเป็นความประพฤติดี นาย ก
จึงกระโดดลงไปช่วยเด็กคนนั้นให้พ้นจากการจมน้ำตาย ถือได้ว่านาย ก ประพฤติดี
แต่ถ้านาย ก เคยสละธุระส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความเดือดร้อนเป็นอาจิณ
นาย ก
อาจกระโดดลงไปช่วยเด็กตกน้ำคนนั้นทันทีที่เห็นโดยไม่มีการตัดสินใจเฉพาะหน้าแต่ประการใดเลย
จะเรียกว่าทำโดยอัตโนมัติก็ได้ เช่นนี้ถือว่านาย ก มีความประพฤติดีเหมือนกัน
หากจะถามว่ามโนธรรมสำนึกอะไรบ้าง
ก็จะวิเคราะห์ออกได้เป็น 2 องค์ประกอบ คือ เป้าหมายเฉพาะกิจกับวิถี
เพื่อบรรลุเป้าหมายเฉพาะกิจ
เป้าหมายเฉพาะกิจระดับหนึ่งจะเป็นวิธีสู่เป้าหมายเฉพาะกิจที่สูงขึ้นไป
จนกว่าจะถึงเป้าหมายสูงสุดของแต่ละบุคคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น