1. ประวัติศาสตร์จริยะ (History of Ethics) กล่าวถึงความเป็นมาถึงความรู้เกี่ยวกับความประพฤติ
จึงกินความรวมถึงประวิติศาสตร์ความประพฤติ ประวัติศาสตร์อุดมการณ์
2. จิตวิทยาจริยะ (Psychology of
Ethics) กล่าวถึงสาเหตุจิตวิทยาของมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติ
3. สังคมวิทยาจริยะ (Sociology of Ethics) กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ของสังคมที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติ
4. ปรัชญาจริยะ (Ethical Philosophy) ถ้ามองจากมุนปรัชญาจะนิยามได้ว่า
เป็นปรัชญาประยุกต์แขนงหนึ่งที่นำเอาปรัชญาบริสุทธิ์ได้ตีความผลสรุปของวิชาจริยศาสตร์สาขาอื่นๆ
ถ้ามองจากมุมจริยศาสตร์ จะนิยามได้ว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์
5. เทววิทยาจริยะ (Ethical
Theology) ซึ่งมักจะเรียกว่าเทววิทยาศีลธรรม
เป็นประมวลความรู้เกี่ยวกับความประพฤติที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ของศาสนาที่นับถือพระเจ้าสำหรับศาสนาที่ไม่นับถือพระเจ้า
อย่างเช่น พระพุทธศาสนา ยังไม่มีศัพท์กลางๆ ไว้เรียก
จึงนิยมเรียกโดยเฉพาะของศาสนาแต่ละศาสนา เช่น พุทธจริยศาสตร์หรือพุทธศีลธรรม
เป็นต้น
ซึ่งเป็นประมวลความรู้เกี่ยวกับความประพฤติที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น